ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4



ให้นักศึกษาไปค้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในงานด้านต่างๆมาคนละ โปรแกรมต่างงานกัน ยกตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย แสดงภาพตัวอย่างงานที่เกิดจากโปรแกรมนั้นๆมาด้วย

1.Microsoft Excel

ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล (อังกฤษMicrosoft Excel) เป็นโปรแกรมประเภทตารางการคำนวณ (สเปรดชีต) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นโปรแกรมหนึ่งในชุดไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ สำหรับจัดการและคำนวณข้อมูลในรูปแบบตาราง อีกทั้งสามารถจัดทำกราฟ แผนภูมิเพื่อแสดงผลข้อมูลได้ โดยเวอร์ชันล่าสุดคือ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล 2007 (Microsoft Excel 2007)
ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในด้านการการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยใช้ฟังก์ชันพื้นฐาน บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง รวมถึงฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ระดับสูง เช่น Moduloตรีโกณมิติ (Sin Cos Tan) ฟังก์ชันทางสถิติ เช่น ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฟังก์ชันทางการเงิน เช่น การคิดค่าเสื่อมราคา, การคำนวณค่าปัจจุบัน ฟังก์ชันในการตัดต่อคำ เช่น Concatenate ฟังก์ชันในการค้นหาข้อมูล เช่น Lookup, vlookup และ hlookup สำหรับส่วนที่ถือว่าเป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดของ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เซล คือ การใช้งานในรูปแบบของฐานข้อมูล ซึ่งสามารถจัดการฐานข้อมูลที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก คือมีประมาณไม่เกิน 65,000 ตาราง ไม่ว่าจะเป็น ตัวกรอง, การเรียงลำดับข้อมูล (Sort) , คำนวณยอดรวม (Subtotal) และตารางไพวอต (Pivot Table) เป็นคำสั่งสำหรับสรุปข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ดูได้ง่าย สามารถหมุนเปลี่ยนตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถทำกราฟในแบบต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม กราฟรูปแท่ง กราฟแท่งเทียนที่ใช้กับการวิเคราะห์หุ้นก็ทำได้ กราฟพื้นที่ สามารถทำกราฟต่างๆให้อยู่ในรูปแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ด้วย รวมถึงทำกราฟ 2 ชนิดในรูปเดียวกันได้ด้วย





2. Microsoft PowerPoint 2007

โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำ Slide Show การออกแบบแผ่นพับ 



3.โปรแกรม Paint 
โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่มีมากับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows เป็นโปรแกรมวาดภาพ 
สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน นักเรียนระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะมีสีสันสวยงาม 
ทั้งสามารถสร้างทักษะการใช้ Mouse และ Keyboard และยังพิมพ์ผลงานออกมาทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ได้อีกด้วย 






Assignment3

ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาสังคมศึกษามา1ระบบ
อธิบายรายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

  
                                                                         ระบบการสอนวิชาพละศึกษา

                INPUT

               1.       เพื่อให้มีสมรรถภาพและสุขภาพของร่างกายดีขึ้น รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ 
                2.       เพื่อให้มีทักษะในกิจกรรมทางด้านพลศึกษาและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิด
                                           ประโยชน์ได้ในโอกาสต่อไป 
               3.       ให้มีความรู้ความเช้าใจในด้านต่าง ๆ เป็นต้นว่า ความรู้ความด้านคุณค่าของวิชา
                                            พลศึกษาประโยชน์ของกิจกรรมประเภทต่าง ๆ
               4.       เพื่อให้มีคุณลักษณะต่าง ๆ ประจำตัว คุณลักษณะดังกล่าวนี้ครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน
      5.       เพื่อให้มีสุขนิสัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง

Process

1.       ในการศึกษาแผนใหม่ถือว่าวิชาพลศึกษามีส่วนช่วยในการพัฒนานักเรียนในทุกๆ 
            ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพและสมรรถภาพของร่างกายได้เป็นอย่างดียิ่ง
2.       การจัดกิจกรรมพลศึกษาที่หนัก เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย
3.       สิ่งที่เด็กหวังจะได้รับในระหว่างมีส่วนร่วมอาจจะแตกต่างกัน 

                              OUTPUT

1.      ผลที่จะได้รับจากการสอนพลศึกษา คือจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวนักเรียนมีความรักนักเรียน
2.      นักเรียนที่อยู่ในชั้นเดียวกันจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวุฒิภาวะ
3.    นักเรียนทุกคนจะมีการพัฒนาดีที่สุดและมีความสุขในชีวิตมากที่สุด

Assignment2

Assignment2

การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ อะไรคือ อะไรคือ O
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem
Input
1.เมื่อฤดูกาลหีบอ้อยมาถึง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายนของทุกปี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะทยอยกันตัดอ้อยที่มีอายุเหมาะสมสำหรับการตัดประมาณ 10 เดือนขึ้นไป แล้วแต่พันธุ์ของอ้อย) และขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน
2.เมื่อรถบรรทุกอ้อยมาถึงโรงงาน จะต้องไปชั่งน้ำหนักอ้อยและรถ ที่สะพานชั่งอ้อย และมาที่แท่นเทอ้อย อ้อยที่เทจะถูกลำเลียงโดย สะพานลำเลียงอ้อย เพื่อผ่าน ระบบการเตรียมอ้อย (Cane Prepara-tion) โดยการฟัน และ ฉีกอ้อยจนเป็นเส้นใยหรือฝอย ละเอียดแล้วลำเลียงเข้าสู่ชุดลูกหีบ ซึ่งจะมีจำนวน ชุด เพื่อทำ การสกัดน้ำอ้อย โดยวิธีการบด และพรมน้ำร้อนเพื่อให้อ้อย ปลดปล่อยความหวานออกมาให้มากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ลูกหีบคือ กากอ้อยและน้ำอ้อยรวม (มีน้ำอ้อยผสมกับน้ำร้อน)
Process
1.กากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้ายจะถูกลำเลียงไปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อผลิตไอน้ำขับเคลื่อนเครื่องจักร ต่างๆ ในโรงงาน และผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง กระแสไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ภายในโรงงาน จะจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นับเป็นการ ช่วยเหลือ ประเทศในการประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง ส่วนไอเสียที่ออกจากเครื่องจักรต่างๆ ยังคงมีความร้อนสูง จะนำไปใช้ในการต้มและเคี่ยวน้ำตาลต่อไป
2.น้ำอ้อยรวม (Mixed Juice) จะถูกส่งเข้าไปในกระบวนการทำให้สะอาด (Juice Purification) โดยการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง แล้วตกตะกอนให้ใส ส่วนที่เป็นตะกอนจะนำเข้าระบบการกรองกากตะกอนด้วยสูญญากาศ เพื่อดูดซับ
ความหวานออกให้มากที่สุดก่อนที่จะปล่อยกากตะกอน (Filter Cake) ออกจากกระบวนการผลิต
กากตะกอน(Filter Cake) จะแบ่งให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยนำไปปรับปรุงบำรุงดินใช้ในการปลูกอ้อยต่อไป
3.น้ำอ้อยที่ตกตะกอนจนใสดรแล้วจะล่งเข้ากระบวนการต้มน้ำอ้อย(Evaporation) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำอ้อยมีความเข้มข้น เรียกว่า น้ำเชื่อมดิบ (Raw Syrup) ส่วนน้ำที่ได้จากขั้นตอนนี้จะนำกลับไปใช้ในหม้อไอน้ำและในกระบวนการผลิตต่อไป
4.น้ำเชื่อมดิบจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการเคี่ยวด้วยระบบสุญญากาศเพื่อระเหยน้ำออกจนถึงจุดอิ่มตัว ที่กระบวนการนี้เอง จะเกิดผลึกน้ำตาลกับน้ำเลี้ยงผลึก รวมกันเรียกว่า แมสควิท (Massecuite) เมื่อตกผลึก
5.น้ำตาลจนได้ขนาดของผลึกน้ำตาลตามความต้องการแล้ว จะนำไปพักเกร็ดที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า น้ำตาลทรายดิบ ซึ่งน้ำตาลทรายดิบ จะถูกส่งไปเก็บในโกดังเพื่อนำไปขาย
6.กระบวนการปั่นละลาย (Affinate Centrifugal) 
เพื่อล้างคราบกากน้ำตาลออก แล้วละลายด้วยน้ำร้อน
7.กระบวนการลดสีและกำจัดสิ่งสกปรกออก ด้วยวิธี Carbonation โดยการปรับสภาพเป็นกรดด่างแล้วใช้ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ที่ได้จากหม้อไอน้ำเป็นตัวลดสี
8.หม้อกรองสีไฟน์ เป็นหม้อกรองแรงดันสูง น้ำเชื่อมที่ได้จะถูกนำไปลดสีด้วยการแลกเปลี่ยนประจุ เพื่อจับยึดแร่ธาตุต่างๆที่ทำให้เกิดสีปะปนมากับน้ำเชื่อมไว้ น้ำเชื่อมที่ได้จากขั้นตอนนี้จะใสมาก เรียกว่าน้ำเชื่อมรีไฟน์
9.ระบบเคี่ยวและปั่น แยกเม็ดน้ำตาล จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หรือ
น้ำตาลทรายขาวธรรมดาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ 
จะต้องผ่านการอบให้แห้งก่อน

Output

นำไปบรรจุใส่ถุงเพื่อส่งไปขายให้กับ
ผู้บริโภคต่อไป