Assignment2
การผลิตนำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem หรือไม่ ถ้าเป็นระบบอะไรคือ I อะไรคือ P อะไรคือ O
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นSystem
Input
1.เมื่อฤดูกาลหีบอ้อยมาถึง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายนของทุกปี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะทยอยกันตัดอ้อยที่มีอายุเหมาะสมสำหรับการตัดประมาณ 10 เดือนขึ้นไป แล้วแต่พันธุ์ของอ้อย) และขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน
2.เมื่อรถบรรทุกอ้อยมาถึงโรงงาน จะต้องไปชั่งน้ำหนักอ้อยและรถ ที่สะพานชั่งอ้อย และมาที่แท่นเทอ้อย อ้อยที่เทจะถูกลำเลียงโดย สะพานลำเลียงอ้อย เพื่อผ่าน ระบบการเตรียมอ้อย (Cane Prepara-tion) โดยการฟัน และ ฉีกอ้อยจนเป็นเส้นใยหรือฝอย ละเอียดแล้วลำเลียงเข้าสู่ชุดลูกหีบ ซึ่งจะมีจำนวน 6 ชุด เพื่อทำ การสกัดน้ำอ้อย โดยวิธีการบด และพรมน้ำร้อนเพื่อให้อ้อย ปลดปล่อยความหวานออกมาให้มากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก ลูกหีบคือ กากอ้อยและน้ำอ้อยรวม (มีน้ำอ้อยผสมกับน้ำร้อน)
Process
1.กากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้ายจะถูกลำเลียงไปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อผลิตไอน้ำขับเคลื่อนเครื่องจักร ต่างๆ ในโรงงาน และผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง กระแสไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้ภายในโรงงาน จะจำหน่ายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นับเป็นการ ช่วยเหลือ ประเทศในการประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง ส่วนไอเสียที่ออกจากเครื่องจักรต่างๆ ยังคงมีความร้อนสูง จะนำไปใช้ในการต้มและเคี่ยวน้ำตาลต่อไป
2.น้ำอ้อยรวม (Mixed Juice) จะถูกส่งเข้าไปในกระบวนการทำให้สะอาด (Juice Purification) โดยการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง แล้วตกตะกอนให้ใส ส่วนที่เป็นตะกอนจะนำเข้าระบบการกรองกากตะกอนด้วยสูญญากาศ เพื่อดูดซับ
ความหวานออกให้มากที่สุดก่อนที่จะปล่อยกากตะกอน (Filter Cake) ออกจากกระบวนการผลิต
ความหวานออกให้มากที่สุดก่อนที่จะปล่อยกากตะกอน (Filter Cake) ออกจากกระบวนการผลิต
กากตะกอน(Filter Cake) จะแบ่งให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยนำไปปรับปรุงบำรุงดินใช้ในการปลูกอ้อยต่อไป
3.น้ำอ้อยที่ตกตะกอนจนใสดรแล้วจะล่งเข้ากระบวนการต้มน้ำอ้อย(Evaporation) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำอ้อยมีความเข้มข้น เรียกว่า น้ำเชื่อมดิบ (Raw Syrup) ส่วนน้ำที่ได้จากขั้นตอนนี้จะนำกลับไปใช้ในหม้อไอน้ำและในกระบวนการผลิตต่อไป
4.น้ำเชื่อมดิบจะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการเคี่ยวด้วยระบบสุญญากาศเพื่อระเหยน้ำออกจนถึงจุดอิ่มตัว ที่กระบวนการนี้เอง จะเกิดผลึกน้ำตาลกับน้ำเลี้ยงผลึก รวมกันเรียกว่า แมสควิท (Massecuite) เมื่อตกผลึก
5.น้ำตาลจนได้ขนาดของผลึกน้ำตาลตามความต้องการแล้ว จะนำไปพักเกร็ดที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า น้ำตาลทรายดิบ ซึ่งน้ำตาลทรายดิบ จะถูกส่งไปเก็บในโกดังเพื่อนำไปขาย
6.กระบวนการปั่นละลาย (Affinate Centrifugal)
เพื่อล้างคราบกากน้ำตาลออก แล้วละลายด้วยน้ำร้อน
เพื่อล้างคราบกากน้ำตาลออก แล้วละลายด้วยน้ำร้อน
7.กระบวนการลดสีและกำจัดสิ่งสกปรกออก ด้วยวิธี Carbonation โดยการปรับสภาพเป็นกรดด่างแล้วใช้ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ที่ได้จากหม้อไอน้ำเป็นตัวลดสี
8.หม้อกรองสีไฟน์ เป็นหม้อกรองแรงดันสูง น้ำเชื่อมที่ได้จะถูกนำไปลดสีด้วยการแลกเปลี่ยนประจุ เพื่อจับยึดแร่ธาตุต่างๆที่ทำให้เกิดสีปะปนมากับน้ำเชื่อมไว้ น้ำเชื่อมที่ได้จากขั้นตอนนี้จะใสมาก เรียกว่าน้ำเชื่อมรีไฟน์
9.ระบบเคี่ยวและปั่น แยกเม็ดน้ำตาล จะได้น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หรือ
น้ำตาลทรายขาวธรรมดาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
จะต้องผ่านการอบให้แห้งก่อน
น้ำตาลทรายขาวธรรมดาน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
จะต้องผ่านการอบให้แห้งก่อน
Output
นำไปบรรจุใส่ถุงเพื่อส่งไปขายให้กับ
ผู้บริโภคต่อไป
ผู้บริโภคต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น