ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

Assignment 6


ให้นักศึกษาตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ทังหมดของหน่วยการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารสำหรับครู

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่

1.จงให้ความของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์มาปรถยุกต์ใช้ในวงการต่างๆโดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแนการ วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการตีความ จำแนกแจกแจง จักหมวดหมู หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่างๆทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ


2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ครูนายู ลา : 2008)

ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เช่น โทรทัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร

การผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ครอบคลุมระบบสื่อสาร ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูล และบริการสารสนเทศ ตลอดจนระบบเครือข่ายโทรคมนาคมจำนวนมากที่เชื่อมโยงติดต่อกัน และใช้ร่วมกันได้


4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร                                           

ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น…  การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีการแพร่หลายในโลกทุกมุมทุกสาขาสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันนี้ต้องพึ่งอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต GSP ดาวเทียม เทคโนโลยีจึงเข้ามามีความสำคัญและเจริญรุกหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน


5.ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence:AI)หมายถึงและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีพฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสินใจของมนุษย์ (Laudon & Laudon ,2001)                                                                                                                                                                            งานทางด้าน AI นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ ซึ่งแล้วแต่ไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปประยุกต์ใช้แต่โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งแขนงของ งานA.I. ได้ดังนี้                                                                                           

1)  ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert-Systems) เป็นระบบการให้คำแนะนำในการจัดการปัญหา โดยอาศัยความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่โปรแกรมไว้                                                                                                                                              

2) Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง การทำงานของสมองมนุษย์ได้                               

 3) Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการแก้ปัญหา รวมทั้งทางเลือกที่ดีที่สุด                                                                                                                                                               

4) การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา ธรรมชาติ” ของมนุษย์ได้                                                                                               

 5) ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้                                                                                                                             
 6) ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ                                                                       
7) หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์


6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

-    เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย

-    เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ

-    เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความเร็ว  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วย มนุษย์

การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้ จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ

การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูล ทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน

7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร

1. มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริงและเชื่อถือได้ สารสนเทศบางอย่างมีความสำคัญ หากไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมที่ประมวลผลจะต้องถูกต้อง      

2. ทันต่อเวลา (timeliness) สารสนเทศที่ดีต้องทันต่อการใช้งาน หมายถึง ข้อมูลที่ป้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีความเป็นปัจจุบันทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองนักเรียน จะต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัย หากหมายเลขโทรศัพท์ล้าสมัยก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้หากเกิดกรณีฉุกเฉิน                                                

3. มีความสมบูรณ์ครอบถ้วน (complete) สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความครบถ้วน สารสนเทศที่มีความครบถ้วนเกิดจากการเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน หากเก็บข้อมูลเพียงบางส่วนก็จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลนักเรียน ก็จะต้องมีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนให้ได้มากที่สุด เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ ชื่อผู้ปกครอง หมายเลขโทรศัพท์ โรคประจำตัว คะแนนที่ได้รับในแต่ละวิชา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ครูสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ หากไม่มีข้อมูลของหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะไม่สามารถติดต่อกับผู้ปกครองได้เช่นเดียวกัน               

4. มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) สารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ กล่าวคือ การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานของผู้ใช้ว่าต้องการในเรื่องใดบ้าง จึงจะสามารถสรุปสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูลของนักเรียนก็ต้องถามครูว่าต้องการเก็บข้อมูลใดบ้าง เพื่อให้ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง                                                                                                                                                            

5. สามารถพิสูจน์ได้ (verifiable) สารสนเทศที่ดีจะต้องตรวจสอบแหล่งที่มาได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศได้


8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ใน สังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม  ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำ วันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ ก่อให้เกิด เครื่องมือหรือวิธีการในการอำนวยความสะดวกในการใช้บริการอย่างรวดเร็ว เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถให้บริการโดยเชื่อมต่อ ระบบออนไลน์ (online system) ซึ่งเป็นระบบสายตรงที่มีประโยชน์มาก และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น กรณีตัวอย่าง เช่น การรับบริการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาล ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ โดยผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรงพยาบาลมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ทำให้เวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งจาก คอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจของแพทย์ได้ทันที เมื่อแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสั่งการรักษาหรือสั่งยา จากห้องแพทย์ไปสู่แผนกเอ็กซเรย์ แผนกจ่ายยา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ


9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน

กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆกัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง  ๆ มากมาย


10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                                                                                                       ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การ พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์

การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษาพูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง

การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้

การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)

การ พัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ

การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen

โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศแนวโน้มในด้านลบ

ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา

การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ

การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์

วิทยาการก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Economy/Society)

               ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก  ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว   จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้  5  กลุ่ม  คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ  (e-Government)  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์  (e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  (e-Industry)  เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา  (e-Education)  และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม  (e-Society)

   การศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน  เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์  จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต  การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา  จึงต้องเน้น  การวางแผนในเชิงรุก  โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลก  คนมีความสุข  ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2

1.คำว่าระบบและวิธีการเชิงระบบ  หมายถึงอะไร

ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
 วิธีการเชิงระบบ (Systems Approach) เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าระบบการทำงานใด ๆ มีผลผลิตหรือผลที่ได้รับ (output) ทั้งคุณภาพและปริมาณมากกว่าทรัพยากร หรือข้อมูล (input) ที่ใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหาระบบการทำงานใด มีผลผลิต หรือผลที่ได้รับต่ำกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป ก็ถือว่าระบบนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528)

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ




1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
    องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ

3.ระบบสารสนเทศหมายถึง อะไร
ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์2541)

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
การจำแนกองค์ประกอบ  ระบบสารสนเทศมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละงาน  องค์ประกอบหลักของระบบสานสนเทศ  มีองค์ประกอบหลัก   2  ส่วน   ได้แก่
ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ
ระบบการคิด  หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก  แจกแจง และจัดหมวดหมู่ข้อมูลต่างๆ  เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้น  ที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มีความสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
ระบบเครื่องมือ  หมายถึง  วัสดุอุปกรณ์  หรือเครื่องมือ  ที่นำมาใช้ในการรวบรวม   จัดเก็บ และเผยแพร่  สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์  และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร  หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ  แทบทุกวงการ  จนทำให้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
 ในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่  
  - ข้อมูล  (Data)
    - สารสนเทศ  (Information)
   - ความรู้  (Knowledge)
  - ปัญญา  (Wisdom)  ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ภาพแสดงองค์ประกอบด้านจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา
องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี  3  ประการ
คือ  ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผลหรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์ (output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมาเผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป
ภาพแสดงองค์ประกอบด้านกระบวนการในการดำเนินงาน
องค์ประกอบของสารสนเทศในหน่วยงาน ได้แก่ บุคคลหรือองค์กร เทคโนโลยี ข้อมูล และระบบสารสนเทศ


ภาพแสดงองค์ประกอบของสารสนเทศในหน่วยงาน

องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป   (Information  Process  Systems)  ประกอบด้วย องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (hardware)  ข้อมูล(data)  สารสนเทศ (information)โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (people ware)


6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
มี  7 ขั้นตอน
1. ขั้นการสำรวจ (Survey) เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้องการต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
 2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis) เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้  MIS  เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสารจากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
 3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design) เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ในลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
 4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
 5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
     เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
     ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
 6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion) เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
 7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and  Maintenance)

เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการสำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม
7.ระบบสานสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานต่างกั

คำถามหน่วยการเรียนที่ 3

1. คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบมี ประโยชน์คือมีความเร็วในการทำงานสูง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์หรือเป็นปีมีความถูกต้องแม่นยำสูง
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนใน ช่วงปี พ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาในปีพ.ศ. 2185 แบลส์  พาสคัล ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข ปีพ.ศ. 2376 ชาร์ล  แบบเบ็จ สร้างเครื่องคำนวณที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ Hard ware,Soft ware,Data,people
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด Input,Output,Central Processing Unit : CPU,Memory,Peripheral Equipment
5. ฮาร์ดแวร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สมารถสัมผัสและจับต้องได้ส่วนประกอบที่ สำคัญ ส่วนประมาลผล ส่วนความจำ อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม ( RAM ) และแบบรอม ( ROM ) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แบบแรมต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เพราะว่าไฟดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไปแบบรอมไม่ขึ้นกับไฟฟ้าและไม่ สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วยส่วนใหญ่ใช่ ในการเก็บโปรแกรมควบคุม
8. จานบันทึกข้อมูล ( HARD Disk ) ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ประ กอบด้วแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจานเป็น ส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีมอร์เตอร์ทำหน้าที่หทุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วความเร็ว สูงมีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวบนแผ่นดังกล่าว
9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ ( Megabyte ) กิกะไบต์ ( Gigabit ) พิกเซล (Pixel ) จิกะเฮิร์ซ ( GHz )
ตอบ กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร
1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิ
เมกะไบต์ ( Megabyte ) เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
พิกเซล ( Pixel ) ความละเอียดของจุดภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จิกะเฮิร์ซ ( GHz ) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็น
ตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ
(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ จอภาพ แสดงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
แป้นพิมพ์ รับเข้าข้อมูลจากการกดเพื่อส่งต่อไปไห้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ ใช้ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

1. ซอฟแวร์คืออะไรและทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ชุดคำสั่งงานของคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นเป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ ได้โดยตรงทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรและเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 2 ประเภท ซอฟต์แวร์ระบบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  ซอฟต์แวร์
3. ซอฟแวร์ระบบคืออะไร
ตอบ คือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
4. ซอฟแวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้เฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการเช่นงานพิมพ์เอกสาร โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์
5. ซอฟแวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่างเช่นการตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
6. ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้อง การภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้ คอมพิเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมายซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญ แลละจำเป็นของระบคอมพิวเตอร์หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้
7. ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปรภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องดัง นั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปรภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให เป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาาาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอหรืออินเทอร์พีเตอร์
8. ระบบปฎิบัติการคืออะไรทำหน้าที่อะไร
ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ตแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบ รื่นและมีประสิทธิภาพทำหน้าที่จัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์เช่นการสำเนาข้อมูล การเรียงลำดับ

คำถามท้ายบท  หน่วยที่ 5

1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  การเชื่อมโยงต่อระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งานการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน
 2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ตอบ  1. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ ให้ประโยชน์ด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันที่สุด 
2. ระบบเรือข่ายอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ที่เรานำมาใช้ในปัจจุบัน คือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail)การค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ การศึกษาแบบ E-Learning การพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ 
3. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ การนำระบบนี้มาใช้ถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์

 3. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเดียวกันและองค์กรที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้กัน เป็นเครือข่ายระยะใกล้โดยใช้สายเคเบิล สายโคแอกซ์ สายใยแก้ว
4. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมโยงกันทั่วโลกผลกระทบและผลประโยชน์จึงมีกว้างมาก
5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการความหมายว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกันเครือข่ายร่วมกัน
6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  3 ประเภท คือ 1. เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ 2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง 3. เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7. รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  2 รูปแบบ คือ 1.ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ 2. ซอฟแวร์หรือส่วนจัดการเชิงตรรกะ

คำถามท้ายบท  หน่วยที่ 6

 1. อินเตอร์เน็ตความหมายว่าอย่างไร
ตอบ  เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชี่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันและแลกเปลี่ยนข่าวสาร
กันจะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลเดียวกันจึงจะเข้ากันได้
2. จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  2.ระบบอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรีบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่  3.สามารถใช้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆเพื่อหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้

3. จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ  1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว 
        2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ 
        3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
        4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ 
        5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ 
        6.ใช้สื่อสารโดยข้อความตอบโต้กัน
        7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
        8.ซื้อขายสินค้าและบริการ
4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพผ่านอุปกรณ์ modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อุปกรณ์แปงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์
5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นระบบบริการข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกที่ในโลกซึ่งข้อมูลต่างกัน เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ e-mail
ตอบ  สามารถส่งข้อมูลให้กับผู้รับไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลกอย่างรวดเร็วสะดวก

คำถามท้ายบทหน่วยที่ 7

   1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  1.อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
 2. เอกซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาติเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น เครือข่ายบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดที่มีร้านวัสดุต่างๆเป็นสมาชิกให้ร้านเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆผ่านเครือข่ายนี้
 3. อิน เทอร์เน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลโดยมีเจ้าของกำหนดว่า ใครเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่มีเจ้า ของทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้
 4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันเพราะฉนั้นการนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงแตกต่างกัน
2. อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ     http://www.google.com
            http://www.altavista.com
              http://www.excite.com
            http://www.yahoo.com
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ google พอสังเขป
ตอบ ให้พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วกดบนแป้น enter และคลิกที่ปุ่ม go บนหน้าจอgoogle ก็จะขึ้นเว็บเพจที่ค้นพบ
5. Digital library  (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสิ่งพิมพ์
6.  จงยกตัวอย่างข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ    http://www.school.net.th
 http://www.learn.in.th

คำถามท้ายบท   หน่วยที่ 8

1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ 1.ให้ผู้ฟัง ชม เข้าใจสาระของการนำเสนอ
       2.ให้ผู้ฟัง ชม เกิดความประทับใจซึ่งส่งผลสู่ความเชื่อในผลงานที่นำเสนอ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.การดึงดูดความสนใจ
         2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
         3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  1.การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
        2.การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม
1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ เครื่องมือหลักคือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากจอคอมพิวเตอร์
1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การนำเสนอแบบ slide presentation คือ ใช้โปรแกรม power point  ใช้โปรแกรมproshow gold ใช้โปรแกรม flip album
        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้โปรแกรม authorware  การใช้ระบบจัดการสอนในระบบออนไลน์ moodle

        3. รูปแบบ social network  การใช้เว็บบล็อก (weblog)เพื่อการเรียนการสอน   การนำเสนอแบบ webpage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น